|
ประวัติความเป็นมาของ TPM | การปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยระบบการผลิตเดิม จากแรงงานมนุษย์ และแรงงานสัตว์ มาเป็นเครื่องจักร ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตอย่างมาก เนื่องจากอุตสาหกรรมที่นำเครื่องจักรเข้ามาช่วยในการผลิต ทำให้สามารถผลิต ผลิตภัณฑ์ ได้จำนวนมาก เมื่อเปรียบเทียบกับแรงงานคน ดังนั้นก็สามารถลดต้นทุนต่อหน่วยผลิตได้ อีกทั้งในสมัยก่อน การแข่งขันยังไม่มีสูงเนื่องจาก ผู้ผลิตสินค้ายังมีไม่มาก เมื่อเทียบสัดส่วนกับ ผู้บริโภค จึงทำให้สายการผลิตเป็นลักษณะ ผลิตยิ่งมากยิ่งถูก ไม่ค่อยคำนึงถึง คุณภาพเท่าที่ควร และไม่ มีความหลากหลายในผลิตภัณฑ์ แต่จะคำนึงถึง ปริมาณการผลิต เป็นหลัก แต่ในสภาวะปัจจุบัน เป็นช่วงที่ผู้ผลิตมีจำนวนมาก และผลิตภัณฑ์มีความหลากหลายและเน้นคุณภาพของผลิตภัณฑ์มากขึ้น การนำระบบ TPM ( Total Productive Maintenance ) เป็นระบบการบริหารการผลิตสมัยใหม่ ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ โดยตรง JIMP ( Japan Institute of Plant Maintenance ) ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งแนวความคิดจะเน้นเรื่องของเข้ามีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายในองค์กร โดยเฉพาะผู้ปฎิบัติงานจะต้องรู้จักดูแลรักษาเครื่องจักร ของตน ไม่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายบำรุงรักษาแต่เพียงฝ่ายเดียว และยังเน้นการลดความสูญเสียและกำจัดความสูญเปล่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ โดยรวมของระบวนการผลิต TPM คือ การเดินทางเพื่อการค้นหา ( Journey of Discovery ) ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร เช่นการสูญเสียจากเครื่องจักรการสูญเสียจากบุคลากร และการสูญเสียจากค่าใช้จ่าย TPM ไม่ใช่หลักสูตร การฝึกอบรมเพื่อการดูแลรักษาเครื่องจักร TPM คือ กิจกรรมที่ทุกคนทั้งองค์กรจะต้องเข้าร่วมกันทำ เพื่อลดความสูญเสีย กำจัดความสูญเปล่า และเพิ่มประสิทธิภาพ โดยรวมขององค์กร
| |
Document Source: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)www.tpm-thailand.blogspot.com